วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมา




การแกะสลักไม้


 ศิลปะการแกะสลักไม้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ตกทอดสืบต่อเรื่อยมาจนปัจจุบันสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชประสงค์จะอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ให้ทรงคุณค่าจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หาครูมาสอนวิชานี้แก่สมาชิกศิลปาชีพโดยทรงเน้นให้ใช้ไม้อย่างคุ้มค่าและและเหมาะที่สุด

           ศิลปะการแกะสลักไม้  เป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ประเภทหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยมนุษย์ ดึกดำบรรพ์รู้จักใช้เครื่องมือตัดหินขุดเจาะและถากไม้ให้มีรูปทรงตามที่ต้องการทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม ในยุคเหล็ก คือประมาณ 1,000 ปีก่อน คริสตศักราช เป็นยุคที่มนุษย์รู้จัก การแยกโลหะจากแร่และนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้นานาชนิดรวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักด้วยงานแกะสลักก็ได้เริ่ม ต้นและมีการพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบันและทำกันไปทั่วโลก  สำหรับการแกะสลักไม้ในประเทศไทยนั้นแต่เดิมส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาทั้งสิ้นได้แก่งานแกะสลักไม้ประกอบโบสถ์ วิหาร ศาลาวัด หอพระไตรปิฎก ตู้พระไตรปิฎก พระเจดีย์ ฯลฯ ซึ่งมีการสรรค์สร้างอย่างสวยงามและปราณีตบรรจง ปรากฏอยู่ทุกยุคทุกสมัยในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยมีช่างแกะสลักที่มีฝีมือได้สร้าง สรรค์ผลงานขึ้นมาเป็นจำนวนมาก
           ศิลปะไม้แกะสลักของล้านนาเป็นงานศิลปที่เก่าแก่มีเอกลักษณ์และมีคุณค่าควรแก่การภาคภูมิใจสำหรับชาวล้านนาเองด้วยเหตุที่ในท้องถิ่นมีไม้สักอุดมสมบูรณ์ สามารถนำมาใช้ในการแกะสลักได้สะดวกงานแกะสลักจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี การทำมาหากิน ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวล้านนา ที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ทุ่งนา ป่าไม้ ซึ่งจะพบเห็นกันได้ทั่วไปในปัจจุบันในสถานที่สำคัญทางศาสนา บ้านเรือนที่อยู่อาศัยหรือเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น