แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม


แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม


ผลิตภัณฑ์ เรือสุพรรณหงษ์ และเรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รายละเอียดผลิตภัณฑ์ สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ปี 2549 ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (มผช.) : 240/2547 การใช้ประโยชน์ ของใช้ ของประดับตกแต่ง และของที่ระลึก สถานที่จำหน่าย กลุ่มพุทธศิลป์แกะสลักไม้ (Heritage Art) 255 หมู่ 5 บ้านไชยชนะ ถนนเชียงใหม่ - ฮอด ตำบลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230 ติดต่อ : คุณเทพทัย สุริยลักษณ์ โทรศัพท์ : 053 434751, 081 836 8545 โทรสาร : 02 9593667 e-mail : interheritage@yahoo.com หรือ 190 หมู่ 2 บ้านถวาย 2 ฝั่งคลอง ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230
ที่มา : http://www.thaitambon.com/tambon/tsmepdesc.asp?Prod=08722133559&ID=501501&SME=06428103313...


งานแกะสลักไม้บ้านหลุก 
ประวัติการแกะสลักไม้บ้านหลุก มีผู้เล่าให้ ฟังว่านายจันดี แก้วชุ่ม ซึ่งเป็นชาวบ้านนาป้อ อำเภอเมือง จังหวัดลำปางได้มาแต่งงานมีครอบครัวอยู่ที่บ้านหลุก ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ด้วยพื้นฐานของบรรพบุรุษที่เป็นช่าง (สล่า) อยู่แล้วได้ไปพบเห็นการแกะสลักไม้ ช้าง ม้า ขายที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย นายจันดีจึงได้ซื้อมาแล้วลองทำดู ปรากฏว่าสามารถทำได้เหทือนของที่ซื้อมา เพื่อนบ้านจึงเล่าขานกันไปทั่วหมู่บ้าน ต่อมามีพ่อค้าคนกลางที่ค้าขายเสื้อผ้าพื้นเมืองที่กรุงเทพได้มาเห็นและได้ขอ ซื้อช้าง ม้า ที่นายจันดีไม้แกะสลักไปขายที่กรุงเทพฯ ปรากฏว่าขายดี จึงได้สั่งให้แกะสลักไม้ มากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อมาเพื่อนบ้าน 3-4 คน ได้ขอให้ นายจันดี ช่วยสอนแกะสลักไม้ให้ ด้วยจิตใจที่โอบอ้อมอารีของนายจันดีที่มีอยู่เดิม จึงได้ทำการสอนการแกะสลักไม้ให้เพื่อนบ้านเหล่านั้นโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และยังช่วยเหลือเรื่องตลาดให้ด้วย




กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว หัตถกรรมประเภท เครื่องไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ 
ชื่อกลุ่ม/หมู่บ้าน บ้านควนน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โทรศัพท์ 0-7462-2056, 0-1738-7358 ชนิดของผลิตภัณฑ์ เครื่องไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ผลิตภัณฑ์จากไม้ตาล ผลิตภัณฑ์จากไม้ขี้เหล็ก ประวัติความเป็นมาของกลุ่มและผลิตภัณฑ์ เดิมราษฎรบ้านควนน้อยมีอาชีพหลัก คือ การทำนา ทำสวน ยางพารา อาชีพเสริมที่ดำเนินการอยู่มีหลากหลาย ได้แก่ การทำแกระเกี่ยวข้าว การตีเหล็ก ซึ่งงานหัตกรรมชิ้นนี้ในสมัยนั้นตลาดมีความต้องการมากเนื่องจากชาวนาทางภาคใต้ทุกจังหวัดใช้แกระเกี่ยวข้าว แต่ในระยะหลังการทำแกระเกี่ยวข้าวเริ่มมีปัญหาอุปสรรคมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงประกอบกับชาวนาหันมาใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยในการเกี่ยวข้าวดังนั้นอาชีพทำแกระเกี่ยวข้าว และอาชีพตีเหล็กจึงลดน้อยลงส่งผลให้ราษฎรในหมู่บ้านมีรายได้ลดน้อยลง รายได้ไม่คุ้มทุน ปี พ.ศ. 2536 ได้มีราษฎรในหมู่บ...


ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่แกะสลักจาก"รากเหง้าไม้ไผ่" สินค้าติดดาวฝีมือชาวบ้าน 
คำกล่าวที่ว่า "พรสวรรค์หรือจะสู้พรแสวง" น่าจะใช้ได้ดีกับ "สุพรรณ กางรัมย์" ประธานกลุ่มสร้างสรรค์งานไม้ไผ่บ้านนางรอง ต.หินตั้ง อ.เมือง จ.นครนายก เจ้าของผลงานเด่นผลิตภัณฑ์แกะสลักจากรากเหง้าไม้ไผ่ การันตีด้วยคุณภาพระดับ 5 ดาว จากโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ สุพรรณ เล่าว่า เริ่มสนใจงานแกะสลักมาตั้งแต่ปี 2532 ขณะนั้นยังเป็นคนงานดูแลบ้านพักในวังตะไคร้ รีสอร์ท เมื่อเดินทางไปทำงานทุกวันก็สังเกตเห็นงานแกะสลักไม้ไผ่วางขายอยู่ริมถนน จึงแวะดูแล้วถามตัวเองว่าแกะได้ไหม จากนั้นก็ซื้ออุปกรณ์ในการแกะสลักเช่น สิ่ว ค้อน เลื่อยตัด มาลองแกะสลักดู โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการแกะสลักใบหน้าคน เมื่อเห็นว่าพอใช้ได้ก็ฝากขายในวังตะไคร้ "จำได้ว่าตัวแรกขายได้ 500 บาท ตอนนั้นดีใจมาก จากนั้นก็อาศัยช่วงหลังเลิกงานไปตัดรากเหง้าไม้ไผ่ในป่ามาแกะสลักเป็นรูปหน้าคนขาย เพื่อเป็นรายได้เสริม&quo...

หมู่บ้านแกะสลัก บ้านกิ่วแลน้อยงานแกะสลักไม้ เป็นงานช่างไทยโบราณอีกแขนงหนึ่ง 
หมู่บ้านแกะสลัก บ้านกิ่วแลน้อย งานแกะสลักไม้ เป็นงานช่างไทยโบราณอีกแขนงหนึ่ง โดยส่วนใหญ่มักเป็นผลงานแกะสลักลวดลายที่ประดับตามอาคาร บ้านทรงไทยที่เน้นการก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย หรืออย่างที่เป็นที่คุ้นเคยของคนไทยมากที่สุดก็ต้องยกให้ การแกะสลักตามวัดวาอารามต่างๆ เช่น ลวดลายหน้าบัน คันทวย ช่อฟ้า ใบระกา บานประตูหรือธรรมมาสน์ เป็นต้น บ้านกิ่วแลน้อยเป็น หมู่บ้านหนึ่งของอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านแม ซึ่งมีเส้นทางการเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ได้ 2 เส้นทาง จากถนนเลียบคันคลองชลประทานจากตัวเมืองเชียงใหม่ โดยผ่านเขตพื้นที่อำเภอหางดง และพื้นที่ตำบลสันกลาง พื้นที่ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง ถึงบ้านกิ่วแลน้อยซึ่ง เป็นศูนย์กลางที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบล สถานีอนามัยตำบล ตลาดสด ศุนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP และอีกหนึ่งเส้นทางคือเส้นทางสายหลัก สายเชียงใหม่ &ndash...

ทาทุ่งหลวง หมู่บ้านแกะสลักไม้ คนล้านนาสมัยก่อนมีฝีมือในการแกะสลักไม้ได้สวยสด งดงามมาก 
ทาทุ่งหลวง หมู่บ้านแกะสลักไม้ หมู่บ้านแกะสลักไม้ ทาทุ่งหลวง คนล้านนาสมัยก่อนมีฝีมือในการแกะสลักไม้ได้สวยสด งดงามมาก ดังจะเห็นได้จากมีการแกะสลักไม้ประดับอาคารในพุทธสถานอย่างวิจิตรอลังการและ ประดิษฐ์พุทธศิลป์แปลกตาชนิดต่าง ๆ ไว้ใช้ในกิจกรรมทางพุทธศาสนา ผืนแผ่นดินล้านนาในอดีตเคยเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยไม้สักเป็นจำนวนมาก หลังจากที่รัฐบาลได้เปิดให้มีการสัมประทานการทำไม้สักอย่างถูกต้องตามกฏหมาย แล้ว ไม้สักจำนวนมากได้ถูกแปรรูปออกมาในแบบของเครื่องใช้ในครัวเรือน บางส่วนถูกแปรรูปให้เป็นไม้แกะสลัก ปัจจุบันการแกะสลักไม้ ยังคงเป็นกิจกรรมที่มีชื่อเสียงของเมือง เชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง แม้ว่างานแกะสลักของเชียงใหม่รุ่นใหม่นี้จะแตกต่างไปจากงานของล้านนาดั่ง เดิมก็ตาม ช่วงระยะเวลา 20 – 30 ปีที่ผ่านมา ชีวิตและวัฒนธรรมของคนล้านนามีพัฒนาการที่แตกต่างไปจากวิถีชีวิตแบบดั่งเดิม มาก ชีวิตส...

กลุ่มกลึงไม้ตาล จุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ ไม้ตาล ผลิตขึ้นแห่งแรกในประเทศไทย 
ประวัติความเป็นมาของกลุ่มกลึงไม้ตาล จุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ ไม้ตาล ผลิตขึ้นแห่งแรกในประเทศไทยที่หมู่ 1 ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี โดยเริ่มขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2515 โดยมีพ่อค้างานกลึงไม้ ชื่อ นายสุจินต์ ศรีสวัสดิ์ ชาวจังหวัดสมุทรสงคราม (มีภูมิลำเนาเดิมอยู่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี) ได้มาเช่าบ้านอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ได้มาริเริ่มงานกลึงไม้เป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ครก กำไรข้อมือ โดยใช้ไม้พุด ไม้มะเกตุ ไม้ประดู่ เมื่อมีงานเข้ามามากก็เริ่มขยายงานมายังตำบลหนองปรง ซึ่งมีช่างไม้เป็นชาวไทยทรงดำ มีฝีมืออยู่หลายคน ได้แก่ นายช้อย ทองสัมฤทธิ์ นายปี จำปาทอง นายมก ร่าเริง นายต๊อก ร่าเริง นายเที่ยง ร่าเริง นายสมหมาย ร่าเริง นายหัน อ่อนยิ่ง และนางอนงค์ อ่อนยิ่ง และจ้างให้กลุ่มคนเหล่านี้กลึงไม้โดยทำแท่นกลึง และแนะนำวิธีการกลึงไม้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น